การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยสยาม ครั้งที่ 1/2565
เมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ทางมหาวิทยาลัยสยามได้มีการจัด “ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยสยาม ครั้งที่ 1/2565” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมี ผศ.ดร.พล.ร.ต.หญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์ เป็นประธานการประชุม ในการนี้ได้รับเกียรติจากท่านพรชัย จุฑามาศท่าน รองผู้อำนวยการ อพ.สธ. และท่าน ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เข้าร่วมประชุม เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงาน อพ.สธ. ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด
ตามที่ มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในกลุ่ม G5 – มหาวิทยาลัยที่ร่วมสนองพระราชดำริ นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๙ ได้ดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน คือ แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบและแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2569) ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการจัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้า ในการนี้ ดร.วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์ หัวหน้าคณะทำงาน ได้กล่าวสรุปภาพรวมการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564 รวมถึงกิจกรรมและโครงการวิจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนกรอบการดำเนินงานตามแผนแม่บท อพ.สธ ระยะ 5 ปีที่เจ็ด นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565-2566 ที่จะเกิดขึ้น
แผนแม่บท อพ.สธ.ระยะ 5 ปีที่เจ็ด มีแนวทางการดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรมของ อพ.สธ. คือ กรอบการเรียนรู้ กรอบการใช้ประโยชนทรัพยากร และกรอบการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร จุดเน้นสำคัญของ แผนแม่บท อพ.สธ.ระยะนี้ คือ ระบบข้อมูลที่สื่อถึงกันถั่วประเทศและจัดทำฐานทรัพยากร อพ.สธ. ตามกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร โดยเป้าหมายจะต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 โดยเฉพาะ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนา และยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
นอกจากนี้ อพ.สธ. ยังให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon) เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล โดยสร้างความร่วมมือในพื้นที่ระดับเครือข่ายในชุมชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรอิสระ ซึ่งเป็นงานของฐานทรัพยากร ดูแลรักษาป่าและพันธุกรรมพืช เพื่อการพัฒนาทรัพยากรในพื้นที่ สังคม และชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริประกอบด้วยกลุ่ม G1-G10 คุณพรชัย จุฑามาศ