รายงานผลการดำเนินงาน

ตามที่มหาวิทยาลัยสยามได้รับหนังสือแจ้งจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องพระราชทานพระราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยสยามเข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการ ในระยะที่ ๕ ปีที่ ๖ (๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔)                     ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ นั้น เนื่องด้วยเกิดความผิดพลาดในด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัย จึงทำให้มหาวิทยาลัยสยามไม่สามารถดำเนินโครงการตามที่เสนอในแผนแม่บท อพ.สธ.-ม.สยาม ได้ โดยสามารถดำเนินโครงการได้เพียง ๓ โครงการซึ่งเป็นกิจกรรมในกรอบการสร้างจิตสำนึกดังนี้

๑. โครงการสนับสนุนการทำงานของเครือข่าย C – อพ.สธ.

๒. โครงการจัดทำเว็บไซต์ อพ.สธ.-ม.สยาม

๓. โครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัย

กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช : โครงการสนับสนุนการทำงานของเครือข่าย C – อพ.สธ.

มหาวิทยาลัยสยามได้จัดส่งบุคลากรเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑ – ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ซึ่งจัดโดยเครือข่าย C – อพ.สธ. ภาคกลางตอนล่าง

กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช : โครงการจัดทำเว็บไซต์ อพ.สธ.-ม.สยาม

มหาวิทยาลัยสยามได้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ อพ.สธ.-ม.สยาม โดยได้วางโครงสร้างของเว็บไซต์ เตรียมข้อมูลสำหรับบรรจุให้หน้าเว็บไซต์ เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ อพ.สธ.

กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช : โครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสยามได้มอบหมายให้คณะวิทยาศาสตร์จัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ยืนต้นภายในมหาวิทยาลัย โดยจะทำในรูปแบบของ QR Code ซึ่งขณะนี้ได้สำรวจพันธุ์ไม้ต่างๆ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นภายในมหาวิทยาลัย  เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ได้เตรียมจัดทำ QR Code ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ  พันธุ์ไม้ต่างๆ ซึ่งเมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ อพ.สธ. ก็จะสามารถติดป้ายชื่อพันธุ์ไม้ต่างๆ ได้โดยสมบูรณ์

ตัวอย่างป้ายชื่อพันธุ์ไม้

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

หูกวาง หรือ กระโดน
ลำดับที่ โครงการงานวิจัย/กิจกรรม การดำเนินงานตามแผนแม่บท งบประมาณ(บาท) แหล่งที่มาของงบประมาณ ผลการดำเนินงาน บุคคล/หน่วยงาน

ที่รับผิดชอบ

มี ไม่มี เสนอขอ ใช้จริง
สนับสนุนการทำงานของเครือข่าย C- อพ.สธ. ๑,๖๐๐ ๑,๖๐๐ งบประมาณจากมหาวิทยาลัยสยาม มีบุคลากรเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานจำนวน ๒ คน สำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
จัดทำเว็บไซต์

อพ.สธ.-ม.สยาม

๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ งบประมาณจากมหาวิทยาลัยสยาม จัดทำโครงสร้างเว็บไซต์แล้วอยู่ระหว่างขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ อพ.สธ. สำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
จัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัย ๓,๗๘๐ ยังไม่มีการสรุป งบประมาณจากมหาวิทยาลัยสยาม สำรวจพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัย และจัดทำ QR Code แล้วอยู่ระหว่างขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์          อพ.สธ คณะวิทยาศาสตร์
รวม ๓ โครงการ ๑๑,๓๘๐

ภาพกิจกรรมเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑ – ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ซึ่งจัดโดยเครือข่าย C – อพ.สธ. ภาคกลางตอนล่าง

การสำรวจพันธุ์ไม้ในมหาวิทยาลัยสยาม

ชนิดที่

ชื่อท้องถิ่น

ลักษณะ

ประโยชน์พื้นบ้าน

1. หูกวาง ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ทำสีย้อมผ้า
2. หูกระจง ไม้ประดับ สวยงาม
3. หางนกยูงฝรั่ง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นยาขับโลหิตในสตรี แก้อาการบวมต่าง ๆ
4. ตะแบก ไม้ต้น ผลัดใบ เป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ
5. มะขามป้อม ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง บรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะ
6. ชมพูพันธ์ทิพย์ ไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลาง-ใหญ่ แก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย
7. ประดู่ป่า ไม้ผลัดใบขนาดกลาง-ใหญ่ ใช้ย้อมผ้า ทำเครื่องเรือน ทำเสา
8. ลีลาวดี ไม้ดอกยืนต้น ขับลมในกระเพาะ
9. สะเดา ไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลาง-ใหญ่ ใช้เป็นอาหาร
10. ทองอุไร ไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นยารักษาโรคเบาหวาน
11. ปาล์มหางจิ้งจอก ปาล์มต้นเดี่ยว เป็นไม้ประดับ
12. หมากเขียว เป็นพรรณไม้ปาล์ม ใช้ทำเป็นท่อระบายน้ำทำไม้คานใช้แบกของ
13. หมากเหลือง เป็นพรรณไม้ปาล์ม ขับเสมหะ สมานแผล แก้เมา แก้อาเจียน
14. ไทรเกาหลี ไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ใบใช้รักษาแผล
15. โพธิ์ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผล เป็น ยาระบาย
16. เฟื่องฟ้า ไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
17. อโศกอินเดีย ไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มปิรามิดแคบ ดอก นำมาทำอาหาร
18. ชบา ไม้พุ่มขนาดกลาง ทำสีย้อมผ้า
19. ชาฮกเกี้ยน ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบ  ใช้ขับเหงื่อ    แก้ท้องเสีย  แก้ไอ
20. จั๋ง เป็นปาล์มขนาดเล็ก เป็นไม้ประดับ
21. เข็ม ไม้พุ่มขนาดเล็ก-กลาง ราก บรรเทาอาการบวม
22. โมกซ้อน ไม้ยืนต้นขนาดกลาง รากแก้วโรคผิวหนัง
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

หูกวาง หรือ กระโดน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

มะขามป้อม
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

ตะแบก
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

ทองอุไร
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

ปาล์มหางจิ้งจอก
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

โมกลา โมกซ้อน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

ชบา
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

ชมพูพันธ์ทิพย์
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

เฟื่องฟ้า
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

หมากเขียว
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

หมากเหลือง
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

หูกระจง
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

ชาฮกเกี้ยน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.

ในโครงการจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสยาม

อโศกอินเดีย